นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากกว่าที่คิด แถมการเจ็บป่วยบางอย่างก็ส่งผลกระทบไปถึงการใช้ชีวิตของเรา ทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ บางโรคอาจร้ายแรงจนถึงขั้นคร่าชีวิตของเราหรือคนที่เรารักไปเลย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน “การตรวจสุขภาพทั่วไป” จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เราจะต้องทำ เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราและคนที่เรารักได้ทัน ก่อนที่จะสายจนเกินไป
เช่นนั้นแล้วก่อนที่เราจะเข้ารับการตรวจสุขภาพ เราควรปฏิบัติตัวเช่นไรกันบ้าง เพื่อให้ผลวินิจฉัยต่าง ๆ ที่ได้มามีความถูกต้องและแม่นยำใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด มาดูกันดีกว่าว่าเราควรที่จะเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องไปตรวจสุขภาพของเรา
แนวทางในการปฏิบัติตัว ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไป
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าก่อนการเข้ารับการตรวจสุขภาพ เราควรมีการเตรียมตัวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในด้านการวินิจฉันของแพทย์ และการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพราะการอดนอนหรือนอนไม่พอ อาจจะทำให้ผลตรวจบางอย่างผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง โดยเฉพาะค่าความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งจะเป็นผลทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคผิดพลาดได้
- งดอาหาร เครื่องดื่ม และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงอย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ อาจจะจิบน้ำเปล่าแก้กระหายได้เล็กน้อย
- งดยาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพราะยาและแอลกอฮอล์อาจทำให้ผลการตรวจบางอย่างผิดไปจากความเป็นจริง หากท่านรับประทานยาหรือแอลกอฮอล์มาภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลที่ทำการตรวจทราบเสียก่อน
- ในกรณีที่ท่านต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต ท่านสามารถทานได้ปกติตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพ ควรจะแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลที่ทำการตรวจได้ทราบด้วย
- หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่น ๆ ให้นำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วย เพื่อให้แพทย์หรือพยาบาลนำมาใช้อ้างอิงประกอบการตรวจสุขภาพ
- สำหรับผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่เป็นสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดการตรวจปัสสาวะ เพราะในปัสสาวะในช่วงนี้จะมีเลือดปนเปื้อนมาด้วย ซึ่งจะมีผลกับการแปลผลการตรวจของทีมแพทย์
- ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) เอง ก็ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงที่มีประจำเดือนเช่นกัน เพราะในช่วงนี้ เต้านมจะมีความคัดตึง แนะนำให้ตรวจหลังช่วงประจำเดือนหมดแล้วจะดีกว่า
- หากท่านสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่องดการตรวจเอกซเรย์
และนี่ก็คือการปฏิบัติตัวก่อนการเข้ารับการตรวจสุขภาพที่ทางเราได้เรียบเรียงมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกัน และหากท่านผู้อ่านสนใจที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไป แต่ไม่สะดวกไปต่อคิวยาวๆ ที่โรงพยาบาล และไม่ทราบว่าควรจะไปตรวจที่ไหนจึงจะมีความแม่นยำและน่าเชื่อถือ เราขอแนะนำ “ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เมดิคอล ไลน์ แล็บ” ศูนย์บริการที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่มีประการณ์งานกว่า 40 ปี เครื่องมือและห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ความทันสมัย ครบครัน และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 9001:2015 จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ท่านจึงมั่นใจได้ว่าศูนย์บริการของเรามีความเชี่ยวชาญและมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ที่มีความแม่นยำและเชื่อถือได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
- 6 เรื่องน่ารู้ ก่อนตรวจสุขภาพ – https://www.thaihealth.or.th/…/29182-6%20เรื่องน่ารู้%20ก่อนตรวจสุขภาพ.html
- การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ – http://paolohospital.com/phahol/check-up/preparation/
- คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ – https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services-th/health-promotion-center-checkup-th/item/1848-instructions-for-preparation-for-health-check-up-th.html