สู่ปีที่ 3 ของวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 จะจบเมื่อไหร่

สู่ปีที่ 3 ของวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 จะจบเมื่อไหร่?

สู่ปีที่ 3 ของวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 จะจบเมื่อไหร่?

หลังจากองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว (Pandemic) ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 นั่นแปลว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับโควิด-19 มาเข้าสู่ปีที่ 3 ผ่านวิกฤตการณ์การระบาดทั้งสายพันธุ์อู่ฮั่น สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เบต้า สายพันธุ์เดลต้า สายพันธุ์โอมิครอน จนมาถึงสายพันธุ์ลูกผสมล่าสุดอย่างโควิด XE และ XJ ลูกผสมจาก 2 สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน จนทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมทั่วโลกกว่า 6 ล้านคนแล้วนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเครียด ความกังวล รวมทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์ล้วนแต่ส่งผลกดดันต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนดูเหมือนว่าคำถามที่น่าจะคาใจใครหลายคน คือ แล้วโควิด-19 จะจบเมื่อไหร่?

covid-19 virus

วัคซีนโควิด-19 จุดจบของโควิด-19 จริงหรือ?

แม้ทั่วโลกจะคาดหวังว่าวัคซีนโควิด-19 จะช่วยนำพาโลกกลับสู่ภาวะปกติ และรัฐบาลหลายประเทศก็เริ่มวางแผนการใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 แล้ว แต่นักภูมิคุ้มกันวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกลับเริ่มเชื่อมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาจะยังคงอยู่กับเราต่อไป เช่นเดียวกับนายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกที่ได้ออกมาเตือนผู้นำโลกว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นยังไม่มีทีท่าว่าใกล้จะจบลงแต่อย่างใด เมื่อไวรัสยังคงกลายพันธุ์ วัคซีนที่ผลิตจึงไม่ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาด และยังฉีดวัคซีนไม่ทันกับความเร็วในการระบาด ดังนั้น สิ่งที่เราช่วยกันทำได้ คือ การเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมมากที่สุดเพื่อป้องกันและชะลอการป่วยหนักและเสียชีวิต

 

โควิด-19 จะสิ้นสุดอย่างไร?

ผลลัพธ์การต่อสู้ระหว่างมนุษย์และไวรัสในทางระบาดวิทยาจะมีผลลัพธ์อยู่ 3 ทาง ได้แก่ ชนะ แพ้ และเสมอ หากมนุษย์ต้องการชัยชนะ เราจะต้องร่วมกันกำจัด (Elimination) หรือลดจำนวนผู้ป่วยให้เหลือน้อยที่สุดในพื้นที่ที่มีขอบเขตชัดเจน ไปจนถึงกวาดล้าง (Eradication) หรือทำให้โควิด-19 หมดสิ้นไปจากทุกพื้นที่ ส่วนการเสมอนั่นคือการปรับให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ที่ยังคงระบาดในพื้นที่ต่าง ๆ แต่สามารถควบคุมไม่ให้แพร่เป็นวงกว้างได้ ส่วนการแพ้นั้นก็ชัดเจนอยู่ในตัวอยู่แล้ว และคงเป็นผลลัพธ์ที่ไม่มีใครปรารถนาให้เกิดขึ้น

women touchs her mask

คาดไทยติดโควิด-19 พีคสุดช่วงกลาง เม.ย. แตะ 4 หมื่นกลาง

แม้หลายประเทศจะปรับให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น รวมถึงประเทศไทยเราเองที่อยู่ในขั้นพิจารณาว่าจะปรับมาตรการโควิด-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่นด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ในบ้านเรายังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาคาดการณ์สถานการณ์ผู้ติดเชื้อว่าจะมีตัวเลขสูงสุดราว 40,000-50,000 รายในช่วงกลางเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว ประชาชนมีการเดินทางมาก และจะลดต่ำสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม แต่หากมีการเพิ่มมาตรการให้เข้มข้น ผู้ติดเชื้อสูงสุดก็อาจจะอยู่ที่ราว 20,000 ราย แม้เชื้อไวรัสชนิดนี้น่าจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ซึ่งหมายความว่าอัตราป่วยจะคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง ประเทศ หรือใหญ่กว่านั้นอย่างกลุ่มประเทศหรือทวีป เช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา และจะยังคงแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ของโลกต่อไป แต่สิ่งที่เรารู้ตอนนี้ก็คือ โลกเตรียมพร้อมรับมือสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มรุนแรงได้ดีขึ้นกว่าการระบาดในช่วงอื่น ๆ ที่ผ่านมา

man is waring mask

จะทำอย่างไรหากโควิด-19 ไม่หายไปง่าย ๆ อย่างที่คิด

การเตรียมความพร้อมทั้งในแง่สุขภาพร่างกายและความเข้มแข็งของจิตใจเป็นสิ่งที่จำเป็น เราจึงต้องมีความอดทนและยอมรับต่อความไม่แน่นอนเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตวิถีใหม่ได้ อีกทั้งการปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันตนเองยังคงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นอย่างน้อย 1-1.5 เมตร รวมถึงเข้ารับการฉีดวัคซีนทันทีที่มีโอกาสเพื่อป้องกันอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวท่านเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย และหากมีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจโควิดและป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

 

ศูนย์การตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ เมดิคอลไลน์ แล็บ บริการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชาญและเชี่ยวชาญในการตรวจหาสารพันธุกรรม แม่นยำสูง ทราบผลรวดเร็ว ดำเนินการในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่มั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัย เนื่องจากได้รับการรับรองว่าเป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐานการตรวจหาเชื้อโควิด–19 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย สามารถสอบถามรายละเอียดหรือทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อความสะดวกและรวดเร็วได้ที่

Tel.: 02-3749604-5

Facebook: medicallinelab

Line: @medicallinelab

Website: www.medicallinelab.co.th

 

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงข้อมูล

https://www.youtube.com/watch?v=y-3QYWWrApY&t=3s

https://www.matichon.co.th/foreign/news_3138961

https://www.bbc.com/thai/international-57887146