เอนไซม์กล้ามเนื้อ

เล่าเรื่อง เอนไซม์กล้ามเนื้อ ถ้ามีค่ามันสูงเกินไป อาจจะมีความเสี่ยงต่อชีวิต

ปกติการเดินทางไปตรวจสุขภาพประจำปี เราก็มักจะเลือกตรวจรายการทั่วๆไป เพราะร่างกายยังแข็งแรง ยังมีแรง ไม่ป่วยการตรวจประจำปีก็น่าจะคาดการณ์สิ่งที่อยากทราบได้ แต่บางทีก็มีอะไรที่รายการตรวจทั่วๆไปไม่สามารถบอกได้ เช่น เรื่องการวัด เอนไซม์กล้ามเนื้อ เพราะการตรวจหา เอนไซม์กล้ามเนื้อ หรือ Creatine Phosphokinase, CPK เป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ เซลล์ของหัวใจ และ เซลล์ของสมอง CPK มักถูกวินิจฉัยในห้องฉุกเฉิน เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้อหัวขาดเลือด การวินิจฉัยโรคหัวใจเฉียบพลัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยนะคะ  ค่าปกติของผลการตรวจ CPK คือ ชายและหญิง ทุกช่วงอายุ 52-336 หน่วย/ลิตร แต่หากตรวจออกมาแล้วได้ค่า CPK สูง อาจประเมินได้ว่า เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อโครงสร้าง หรือเนื้อเยื่อสมอง ร่างกายอาจตกอยู่ในสภาวะตัวร้อนเกิดอย่างรุนแรง รวมไปถึงกล้ามเนื้อสลายเนื่องจากถูกบีบอัด เช่น การวิ่งมาราธอน

ค่าเอนไซม์กล้ามเนื้อ จะตรวจพบได้เมื่อร่างกายมีการสลายกล้ามเนื้อปนออกมาในกระแสเลือด อาจจะรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้อสลาย มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะเกิดปัญหากับไต ทำให้ไตวายได้ คนที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อสลาย ถ้ารักษาไม่ถูกทางอาจจะมีโอกาสเสียชีวิตได้

อย่างกรณีข้อมูลที่แชร์กันในโลกออนไลน์ “ตูน” อาทิวราห์ คงมาลัย วิ่งหนัก 150 กิโลเมตร เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา จน ค่า CPK ขึ้นไปถึง 4,000 ซึ่งคนปกติค่า ไม่ถึงร้อย ทำให้ต้องพัก จนค่า CPK เหลือที่ 1,000 จึงวิ่งต่อ ทำให้ตูน ต้องพัก 2 วัน เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย รักษาชีวิตก่อนวิ่งไป เชียงราย ตามเป้าที่กำหนด

ประโยชน์ของการตรวจค่า CPK

  • เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย
  • เพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก
  • เพื่อตรวจสอบว่ากล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด
  • สามารถตรวจสอบโรคทางกล้ามเนื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนตรวจ CPK

การตรวจ CPK เป็นการตรวจเอนไซม์ในเลือด จึงไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนการทดสอบ แต่จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ก่อนว่ามีการใช้ยา สมุนไพร อาหารเสริมชนิดใด อยู่ประจำบ้าง เพราะยาบางชนิดสามารถเพิ่มปริมาณฮอร์โมน CPK ในเลือดได้ เช่น ยาลดคอลเลสเตอรอล ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาแอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B) และกลุ่มยาฆ่าเชื้อรา เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

Scroll to Top