ช่วงนี้เริ่มเข้าหน้าหนาวอย่างชัดเจน จากอุณหภูมิที่ลดต่ำกว่าช่วงเดือนก่อนมาก ทำให้บางคนที่ร่างกายมีความไวต่อความเปลี่ยนแปลงอาจจะปรับตัวไม่ทัน หรือใครที่มีอากาศแพ้อากาศ หรือแพ้อากาศง่ายอยู่เป็นทุนเดิมอาจจะทำให้ช่วงนี้เกิดอาการเจ็บป่วยง่ายกว่าคนอื่นได้ หากใครสนใจป้องกันตนเองนอกจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้ว ยังมีอีกวิธีเพื่อเพิ่มความมั่นใจ ต่อการป้องกันอาการป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย เพราะไข้หวัดใหญ่อาจจะส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และบางรายอาจต้องเสียชีวิตลง แต่ปัจจุบันมี วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ให้บริการในหลายสถานที่ ราคาที่แตกต่างกันไป
คนส่วนมากมักสับสน ระหว่างไข้หวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ เพราะมักจะแสดงอาการใกล้เคียงกัน แต่ควรสังเกตอาการที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรค และเพิ่มการระมัดระวังในการดูแลตนเอง โดยไข้หวัดธรรมดามักมีไข้ต่ำๆ ร่วมกับอาการทางจมูกและทางเดินหายใจ เช่น อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล (น้ำมูกจะมีลักษณะใส) จาม เจ็บคอ คอแดง ทอนซิลอาจบวมแดง แต่ไม่พบจุดหนอง (จุดหนองมักพบในการติดเชื้อแบคทีเรีย) และไอ อาการปวดศีรษะมักพบได้บ้าง แต่โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรง และสามารถดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่ จะสามารถเกิดอาการทางจมูก และคอได้ในบางครั้ง ส่วนอาการที่มีความชัดเจน คือ มีไข้สูง อาจถึง 37.8 -39.0 องศาเซลเซียส มีอาการปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลียอย่างมาก และมีอาการไอที่รุนแรง ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอกด้วย
มาทำความรู้จักกันก่อน ไข้หวัดใหญ่มีกี่สายพันธุ์ ถ้าจนถึงปัจจุบันก็ต้องบอกว่า มีถึง 4 สายพันธุ์ด้วยกันนั้นก็คือ A H1N1 A H3N2 B Victoria และตัวสุดท้าย B Yamagata แต่เดิมวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย H1N1 A H3N2 B Victoria หรือ B Yamagata ในปัจจุบัน การเพิ่มสายพันธุ์ B อีก 1 ตระกูล ก็เท่ากับว่าจะได้รับการป้องกันที่ครอบคลุมมากขึ้นต่อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่กำลังแพระระบาด ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอนามัยโลก จะเลือกสายพันธุ์ B เพียง 1 สายพันธุ์เท่านั้น แม้ว่าสายพันธุ์ B จะมี 2 ตระกูลที่แตกต่างกัน และสามารถพบทั้ง 2 ตระกูลในเกือบทุกครั้งของการระบาดไข้หวัดใหญ่ นั่นเท่ากับว่า วัคซีนจะไม่สามารถป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ B อีกตระกูล ที่ไม่มีอยู่ในวัคซีนที่ใช้ในขณะนั้น
ใครควรฉีดบ้าง
- เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- สตรีมีครรภ์ ที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- เด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด
- ผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม
- บุคลากรทางการแพทย์
ใครบ้างที่ไม่ควรฉีด
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่หรือส่วนประกอบของวัคซีน
- ผู้ที่กำลังป่วยหรือเคยป่วยด้วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร
- ผู้ที่เพิ่งหายจากอาการเจ็บป่วยเฉียบพลันไม่เกิน 7 วัน
- ผู้ที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน (รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคต่างๆ)
ผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่
อาการที่มักพบบ่อยที่สุดคือ อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน บางคนอาจจะมีไข้ต่ำๆ และปวดเมื่อยตัว ส่วนอาการที่มีโอกาสเกิดได้น้อย เช่น มีอาการแพ้อย่างรุนแรง แต่อาการเหล่านี้จะปรากฏภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมงหลังฉีด ในบางรายอาจจะมีอาการหายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หรือหายใจเสียงดัง ลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือเวียนศีรษะ หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ด่วน
เมื่อทราบแล้วว่าใครที่ควร และใครที่ไม่ควรฉีด เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ทันทวงที เพราะหากเกิดความเสียหายแล้ว มักไม่สามารถย้อนคืนสิ่งที่สูญเสียไปแล้วทั้งสิ้น
ขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมเรื่องการฉีด วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ได้ที่ เอ็ม แอล แอล คลินิกเวชกรรม ในเครือ เมดิคอล ไลน์ แล็บ ได้ทุกวันจันทร์ – ศุกร์เวลา 08.00 – 17.00 น. และวันเสาร์ 08.00 -12.00 น. หรือ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ 02-374-9604-5